วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ร่มฉัตร นวนิยายที่กำลังจะกลายเป็นละครอีกครั้ง

          ร่มฉัตร เป็นนวนิยายของ ทมยันตี อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนจะยกมา เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของสตรีนาม แม้นวาด ลักษณะเนื้อเรื่องจะคล้ายกับสี่แผ่นดิน ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมทย์ 
     เป็นเรื่องราวของสตรีที่ชื่อแม้นวาด ที่ตลอดระยะเวลาการดำเนินชีวิตของเธอมีทั้งความรุ่งเรืองและอุปสรรคมากมาย วาดดำรงชีวิตอยู่แม้กระทั่งในสมัยการเปลี่ยนระบอบการปกครอง แต่สิ่งๆเดียว ที่ทำให้วาดไม่ไหวหวั่นและตื่นตระหนกกับเรื่องราวต่างๆที่เข้ามานั้น คือ  ร่มฉัตร  ที่วาดเทิดทูนไว้เหนือหัวนั่นเอง ถึงแม้บั้นปลายในชีวิตของวาดจะรุ่งเรื่องถึงขั้นมีตำแหน่งท่านผู้หญิง  แต่วาดก็ไม่เคยถือตัว ยังคงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และเป็นที่รักของผู้คน ตราบจนสิ้นล้มหายใจ


 อ้างอิงรูปภาพ:http://www.himaparn.com/book/883/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A1%

ด้วยเนื้อหาที่แสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์   ร่มฉัตรจึงถูกหยิบยกขึ้นมาวาดลวดลายในจอแก้วอีกครั้ง จะสนุกและเก็รายละเอียดได้ตามหนังสือแค่ไหน เรามารอชมกันดีกว่านะคะ


อ้างอิงรูปภาพ:https://twitter.com/hashtag/%E0%B8%A3%E0%B9

อิเหนาผู้มีมเหสีห้าตำแหน่งสิบนาง

อิเหนาเป็นวรรณคดีเก่าแก่อีกเรื่องหนึ่งของไทย คาดว่าแต่งในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ถูกเล่าผ่านมายังเชลยหญิงปัตตานีซึ่งเป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ ต่อมาทั้งสองพระองค์ก็ได้แต่งเรื่องขึ้นมาองละเรื่อง คือ อิเหนาเล็ก(อิเหนา)และ อิเหนาใหญ่(ดาหลัง) นั่นเอง


อ้างอิงรูปภาพ:http://www.booksmile.co.th/%E0%B8%A7%E.html

ในเรื่อง อิเหนานั้นเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองใหญ่และมีอำนาจ
สามารถมีมเหสีได้ถึง 5 ตำแหน่ง  คือ          
1 ประไหมสุหรี
                                           2 มะเดหวี
                                           3 มะโต
                                           4 ลิกู
                                           5 เหมาหลาหงี
แต่ก็นั่นแหละค่ะ 5 ตำแหน่งก็ใช่ว่าจมีเมียได้แค่ 5 คน ยิ่งระดับอิเหนาด้วยแล้ว ต้องมี10คนจะไปยากอะไร มีไปเลยตำแหน่งละ 2 คนค่ะ มีใครบ้างมาไล่กัน
                     จินตะหราวาตี เป็น  ประไหมสุหรีฝ่ายขวา
บุษบาหนึ่งหรัด เป็น ประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย
                      สะการะวาตี  เป็นมะเดหวีฝ่ายขวา
                      มาหยารัศมี  เป็น มะเดหวีฝ่ายซ้าย
                      บุษบาวิศ เป็น มะโตฝ่ายขวา
                      บุษบากันจะหนา  เป็น  มะโตฝ่ายซ้าย
                       ระหนาระกะติกา  เป็น   ลิกูฝ่ายขวา
                       อรสา   เป็น   ลิกูฝ่ายซ้าย
                       สุหรันกันจาส่าหรี   เป็น   เหมาหลาหงีฝ่ายขวา
                       หงยาหยา   เป้น  เหมาหลาหงีฝ่ายซ้าย
เห็นแล้วต้องชื่นชมความอุตสาหะของอิเหนา ที่คงบริหารจัดการเวลาได้ยอดเยี่ยมมาก ถ้าเป็นสมัยนี้คงตีกันให้วุ่นไปหมดแล้วหละค่ะ

อ้างอิงรูปภาพ:http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rouenrarai&month



วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559

คู่กรรม นวนิยายที่เรียกน้ำตาของคนอ่านทั่วประเทศ

คู่กรรม เป็นนวนิยายแนวโศกนาฏกรรมที่ถึงแม้จะเศร้าแต่ในระหว่างการดำเนินเรื่องก็ดูอบอุ่นด้วยความรักทั้งรักชาติและรักแบบหนุ่มสาวทำให้ผู้อ่านได้ยิ้มได้อยู่ โดยคู่กรรมนี้ก็ประพันธ์โดย ทมยันตี เฉกเช่นเดียวกับพิษสวาทเมื่อโพสต์ที่แล้ว  

คู่กรรมถูกตีพิมพ์เป็นนิยายตอนในนิตยสารศรีสยาม และรวมเล่มในปีพุทธศักราช 2512 และด้วยความเป็นที่นิยมก็ถูกตีพิมพ์หลายต่อหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คู่กรรม
อ้างอิงรูปภาพ:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8

แน่นอนคอนิยายและวรรณกรรมต่างก็รู้จักกันดีหากเอ่ยชื่อโกโบริ หรือพ่อดอกมะลิตามที่บ้านของนางเอกเรียก และชื่อ อังศุมาลิน หญิงสาวผู้มีเลือดรักชาติเข้มข้น  นวนิยายคู่กรรมแสดงให้เห็นถึงความรักชาติของคนไทยจาการบรรยายเรื่องราวของคนไทยที่ไม่ค่อยชอบญี่ปุ่นกันสักเท่าไร แต่ก็ยังมิวายมีน้ำใจเอาข้าวบ้างหละ ของบ้างหละไปแจกจ่ายตั้งแต่นักโทษสงครามที่ถูกจับในค่ายรวมจนถึงทหารในค่าย และความรักของหนุ่มสาว โกโบริทหารญี่ปุ่นนายช่างใหญ่ที่หลงรักอังศุมาลินตั้งแต่แรกพบและพยายามทำตัวเป็นมิตรกับทุกๆคน แต่อังศุมาลินผู้มีเลืดรักชาติอย่างเข้มข้นก็ไม่ยอมตอบรับไมตรีที่ที่นายช่างใหญ่มอบให้ เพราะยังมั่นในสัญญากับวนัส ชายหนุ่มอีกคนที่ไปเรียนต่ออย่างต่างประเทศ แต่สุดท้ายอังศุมาลินก็ต้องยอมแพ้หัวใจของโกโบริและกว่าที่จะรู้หัวใจของตัวเองนั้นมันก็สายเสียแล้ว มีเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆในครรภ์ของหล่อนเท่านั้น ที่เป็นเครื่องพยานแห่งความรักครั้งนี้ แม้เรื่องราวจะจบลงอย่างแสนเศร้า แต่เราก็ได้ข้อคิดมากมายจากนวนิยายเรื่องนี้ ถือเป็นนวนิยายติดอันดับตำนาน1ใน5ทอล์กออฟเดอะทาวน์ของประเทศเลยที่เดียวนั่นเอง และยังได้นำไปสร้างเป็นละครและภาพยนตร์อีกหลายต่อหลายรอบ

อ้างอิงรูปภาพ:http://pantip.com/topic/30435109/page4


                                                        อ้างอิงรูปภาพ:http://dodeden.com/5505.html

พิษสวาท พิษของสวาทแน่แท้เชียว

     ตอนนี้หากจะเรียกชื่อของคุณอุบล คงเป็นที่คุ้นหูสำหรับคอละครไทยอย่างแน่นอน กับเรื่องราวของนางรำหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ถูกทรยศจากคู่ชีวิตซึ่งเป็นชายชาติทหารอันเป็นที่รักยิ่งด้วยการตัดศรีษะแล้วให้เฝ้าทรัพย์สมบัติของแผ่นดินมาเป็นเวลาหลายร้อยปี


อ้างอิงรูปภาพ:http://movie.sanook.com/55445


พิษสวาทเป็นบทประพันธ์ของ ทมยันตี โดยนวนิยายเรื่องนี้เคยถูกตีพิมพ์ในนิตยาสารสกุลไทยรายสัปดาห์มาแล้ว เป็นเรื่องราวทั้งความรักและความแค้นที่ตัวของคุณอุบลโดนชายอันเป็นที่รักตัดศรีษะ โดยมิได้ถามถึงความยินยอมพร้อมใจของตนตั้งแต่แรก ให้เป็นวิญญานผู้เฝ้าสมบัติของแผ่นดินในครากรุงแตกจนมาพบกับพระเอกในสมัยปัจจุบัน และเกิดอาถรรพ์ต่างๆรวมถึงการลงโทษพวกนักการเมืองที่โกงกินบ้านเมือง โดยสอดแทรกคำสอนเรื่องใครทำดีได้ดี และใครทำชั่วได้ชั่วนั่นเอง และยังสอดแทรกความรู้สึกรักชาติและหวงแหนสมบัติของเเผ่นดินได้ดี กลับมาในเรื่องของตัวคุณอุบลที่พยายามจะดึงตัวชายอันเป็นที่รักในสมัยปัจจุบันเข้ามาทำหน้าที่นี้แทนตนด้วยความโกรธแค้น แต่ทว่าในความโกรธแค้นนั้นก็ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยความรักต่อชายผู้ที่ทำลายชีวิตของตนและสุดท้ายด้วยอำนาจของความรัก คุณอุบลก็ยอมกลับไปทำหน้าที่ของตนดังเดิม และคอยเฝ้ามองชายอันเป็นที่รักทุกๆชาติไป  นี่แหละที่เรียกว่า พิษของสวาทแน่แท้เชียวหละ


อ้างอิง: http://www.booksonline.in.th/product.php?productid=8066

ชีวิตแม่พลอยในสี่แผ่นดิน


     สี่แผ่นดิน เป็นนวนิยายของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมทย์  ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 8 นับเป็นนวนิยายที่มีชื่อเสียงและถูกเล่าต่อกันปากต่อปากถึงเนื้อหาที่มีความกินใจและดูจะใกล้ตัวกับประชาชนคนไทยเป็นอย่างยิ่ง ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านนวนิยายเรื่องนี้ตอนสมัยมัธยมช่วงปิดเทอมก่อนจะเข้ามหาวิทยาลัย
      สำหรับเนื้อหานั้นผู้เขียนจะเล่าคร่าวๆ โดยในเรื่องสี่แผ่นดิน หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมทย์ได้กำหนดสร้างตัวละครที่ชื่อแม่พลอย เข้ามาเป็นตัวหลักในการดำเนินเรื่องทั้งหมด โดยกำหนดให้แม่พลอยนั้นเกิดในปีพุทธศักราช 2425อยู่ในสมัยรัชกาลที่5และสิ้นชีวิตลงในปีพุทธศักราช 2489 หรือในรัชกาลที่ 8 นั่นเอง เพราะฉะนั้นแม่พลอยจะมีอายุราวๆ 64ปี เห็นจะได้ โดยกำหนดให้ชีวิตของแม่พลอยนั้นได้ระหกระเหินเข้ามาอยู่ในวังกับแม่ และได้ถวายตัวกับสเด็จ เนื่องด้วยมีปัญหาทางบ้านกับพ่อของแม่พลอย โดยต่อมาแม่ของแม่พลอยได้ฝากแม่พลอยไว้กับคุณสายแล้วจึงออกไปทำไร่ทำสวนและเสียชีวิตลงในเวลาต่อมา โดยคุณสายมีหลานอีกคนชื่อว่า ช้อย และต่อมาแม่พลอยกับช้อยก็ได้เป็นเพื่อนสนิทที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันในเหตุการณ์ต่างๆที่สำคัญในชีวิตไม่ว่าจะเป็นเหตุการ์ผลัดแผ่นดิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกของคนไทยอย่างมาก และเหตุการณ์ส่วนตัวสำคัญๆของแม่พลอย เช่น พิธีโกนจุก พิธีแต่งงาน การตามเสด็จไปในที่ต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมทย์ได้สอดแทรกวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆอย่างละเอียดโดยที่ในสมัยปัจจุบันหาชมไม่ได้แล้วอีกด้วย
นวนิยายสี่แผ่นดินถือนวนิยายที่ควรแก่การอ่านและมีคุณค่ามากในทางด้านประวัติศาสตร์ของประเทศไทย หากใครยังไม่เคยอ่านคงต้องลองหยิบมาเปิดบ้างแล้วหล่ะ แล้วคุณจะหลงรักเสน่ห์ของบางกอก เสน่ห์ของถ้อยคำ เสน่ห์แห่งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ต่างจากสมัยนี้โดยสิ้นเชิงทีเดียว



อ้างอิงรูปภาพ:http://pantip.com/topic/30508597





วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วรรณกรรมไทยเสน่ห์แห่งอักษรา

กรมศิลปากรได้ให้คำจำกัดความของคำว่า วรรณกรรม หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานจากการคิด และจินตนาการ แล้วนำมาเรียบเรียง บอกเล่า หรือสื่ออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ

โดยทั่วไปแล้ววรรณกกรมเเบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. วรรณกรรมลายลักษณ์ คือ วรรณกรรมที่จดบันทึกเป็นตัวหนังสือ
2.วรรณกรรมมุขปาฐะ คือ วรรณกกรมที่เล่ากันปากต่อปาก ไม่ได้มีการจดบันทึกแต่อย่างใดวรรณกรรมไทยแสดงให้เห็นถึงเสน่ห์และความงดงามของการใช้ภาษาในการเรียงร้อยถ้อยคำให้ชวนติดตาม    
อ้างอิง:http://jinglebookshop.weloveshopping.com/

บล๊อกนี้มีอะไร?

      เล่าเฟื่องเรื่องวรรณกรรมไทย

รวบรวมวรรณกรรมไทย นวนิยายที่น่าสนใจ และเป็นที่กล่าวขาน